ธรรมนูญครอบครัว : เข็มทิศบริหารธุรกิจครอบครัวที่สำคัญ
ตำราการบริหารธุรกิจนั้นมีอยู่มากมายสามารถหาอ่านได้ทั่วไป แต่ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องธุรกิจครอบครัว เป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่านั้นมาก เพราะในธุรกิจครอบครัวนั้น เราไม่เพียงต้องเรียนรู้หลักการบริหารธุรกิจ แต่ยังต้องมีความสามารถในการบริหารความรู้สึก บริหารความรัก และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวอีกด้วย

ธรรมนูญครอบครัว : เข็มทิศบริหารธุรกิจครอบครัวที่สำคัญ
tetuer adip iscing
ตำราการบริหารธุรกิจนั้นมีอยู่มากมายสามารถหาอ่านได้ทั่วไป แต่ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องธุรกิจครอบครัว เป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่านั้นมาก เพราะในธุรกิจครอบครัวนั้น เราไม่เพียงต้องเรียนรู้หลักการบริหารธุรกิจ แต่ยังต้องมีความสามารถในการบริหารความรู้สึก บริหารความรัก และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวอีกด้วย ยิ่งเป็นวัฒนธรรมชาวเอเชีย ที่ยังมีระบบอาวุโส ระบบลูกชายคนโต สภาวการณ์แบบนี้ทำให้เกิดการตัดสินใจโดยใช้ความรู้สึก ส่งผลให้ละเลยรายละเอียดที่สำคัญของการบริหาร หัวใจสำคัญของการบริหารธุรกิจครอบครัวที่มีความละเอียดอ่อนนี้จึงเป็นการสร้างสมดุลระหว่างธุรกิจและครอบครัว เพราะในขณะที่บางครอบครัวให้ความสำคัญกับธุรกิจมาก โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ต่าง ๆ มากเกินไปจนส่งผลกระทบด้านปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น ไม่มีเวลาให้ครอบครัว จนทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวจืดจางไป ในมุมกลับกันการให้ความสำคัญต่อครอบครัวมากไปก็อาจทำให้ละเลยในเรื่องแผนขยายธุรกิจ มีการรับสมาชิกเข้าทำงานโดยไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดการจ่ายผลตอบแทนที่มากกว่าความสามารถ ละเลยแผนการพัฒนาความเป็นผู้นำของสมาชิก ฯลฯ ความขัดแย้งจากความไม่สมดุลนี้นำมาซึ่งปัญหามากมายทั้งทางด้านธุรกิจ และด้านครอบครัว ซึ่งถ้าปล่อยปละละเลย ก็จะสะสมเป็นปัญหาใหญ่ทำให้ครอบครัวแตกแยก หรือธุรกิจไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ จับสัญญาณความเสี่ยงด้วย “ธรรมนูญครอบครัว” ธรรมนูญครอบครัว (Family Charter) สามารถใช้เป็นกลไก หรือจุดเริ่มต้นในการให้สมาชิกครอบครัวทุกคนได้มีวาระในการหันหน้าเข้าหากัน และช่วยกันระดมกำลังสมองเพื่อค้นหาสัญญาณความเสี่ยงในหัวข้อประเด็นต่าง ๆ หาทางป้องกันก่อนที่ประเด็นต่าง ๆ จะกลายเป็นปัญหาลุกลามใหญ่โตจนยากที่จะแก้ไข สัญญาณความเสี่ยงที่ธุรกิจครอบครัวจะต้องให้ความสำคัญมี 3 หัวข้อใหญ่ดังนี้ 1. วัฒนธรรมครอบครัว เป็นส่วนสำคัญของธรรมนูญครอบครัว ประกอบด้วย ค่านิยมของธุรกิจและของครอบครัว ซึ่งเปรียบเหมือนเสาหลักของบ้านที่ให้สมาชิกครอบครัวยึดถือปฏิบัติร่วมกัน และใช้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจครอบครัวและการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ในอนาคต 2. โครงสร้างธุรกิจ เป็นประเด็นเรื่องผลประโยชน์ต่าง ๆ มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ โครงสร้างการถือหุ้นหรือการจัดการความเป็นเจ้าของ การถือหุ้นนี้ไม่มีมาตรฐานตายตัว อาจได้มาโดยการโอนให้ การซื้อ มรดกตกทอด หรือของขวัญ ทำให้ได้สิทธิของการบริหาร และเป็นเจ้าของธุรกิจ ซึ่งถ้าไม่มีการตกลงกันก็อาจมีปัญหาเรื่องการบริหารได้ในอนาคต เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น การบริหารงานมีความซับซ้อนขึ้น การจัดตั้งคณะกรรมการบริหารก็จะเป็นส่วนที่สำคัญในเรื่องการแต่งตั้งบุคคลไม่ว่าจะเป็นสมาชิกครอบครัวหรือบุคคลภายนอก มาร่วมตัดสินใจทางยุทธศาสตร์ธุรกิจ การลงทุน พร้อมทั้งกำหนดนโยบายเรื่องเงินปันผล 3. การบริหารครอบครัว เป็นข้อตกลงกันระหว่างสมาชิกครอบครัว ที่จะดูแลความเป็นอยู่ และพัฒนาสมาชิกในระดับต่าง ๆ เพื่อก้าวเข้ามาทำงานในธุรกิจครอบครัวอย่างมืออาชีพ ไม่มีปัญหาติดขัด และเป็นที่ยอมรับของพนักงานในทุกระดับชั้น ประกอบด้วย ข้อตกลงเรื่องแผนการจ้างงาน….

ธรรมนูญครอบครัว : เข็มทิศบริหารธุรกิจครอบครัวที่สำคัญ
ตำราการบริหารธุรกิจนั้นมีอยู่มากมายสามารถหาอ่านได้ทั่วไป แต่ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องธุรกิจครอบครัว เป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่านั้นมาก เพราะในธุรกิจครอบครัวนั้น เราไม่เพียงต้องเรียนรู้หลักการบริหารธุรกิจ แต่ยังต้องมีความสามารถในการบริหารความรู้สึก บริหารความรัก และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวอีกด้วย ยิ่งเป็นวัฒนธรรมชาวเอเชีย ที่ยังมีระบบอาวุโส ระบบลูกชายคนโต สภาวการณ์แบบนี้ทำให้เกิดการตัดสินใจโดยใช้ความรู้สึก ส่งผลให้ละเลยรายละเอียดที่สำคัญของการบริหาร หัวใจสำคัญของการบริหารธุรกิจครอบครัวที่มีความละเอียดอ่อนนี้จึงเป็นการสร้างสมดุลระหว่างธุรกิจและครอบครัว เพราะในขณะที่บางครอบครัวให้ความสำคัญกับธุรกิจมาก โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ต่าง ๆ มากเกินไปจนส่งผลกระทบด้านปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น ไม่มีเวลาให้ครอบครัว จนทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวจืดจางไป ในมุมกลับกันการให้ความสำคัญต่อครอบครัวมากไปก็อาจทำให้ละเลยในเรื่องแผนขยายธุรกิจ มีการรับสมาชิกเข้าทำงานโดยไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดการจ่ายผลตอบแทนที่มากกว่าความสามารถ ละเลยแผนการพัฒนาความเป็นผู้นำของสมาชิก ฯลฯ ความขัดแย้งจากความไม่สมดุลนี้นำมาซึ่งปัญหามากมายทั้งทางด้านธุรกิจ และด้านครอบครัว ซึ่งถ้าปล่อยปละละเลย ก็จะสะสมเป็นปัญหาใหญ่ทำให้ครอบครัวแตกแยก หรือธุรกิจไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ จับสัญญาณความเสี่ยงด้วย “ธรรมนูญครอบครัว” ธรรมนูญครอบครัว (Family Charter) สามารถใช้เป็นกลไก หรือจุดเริ่มต้นในการให้สมาชิกครอบครัวทุกคนได้มีวาระในการหันหน้าเข้าหากัน และช่วยกันระดมกำลังสมองเพื่อค้นหาสัญญาณความเสี่ยงในหัวข้อประเด็นต่าง ๆ หาทางป้องกันก่อนที่ประเด็นต่าง ๆ จะกลายเป็นปัญหาลุกลามใหญ่โตจนยากที่จะแก้ไข สัญญาณความเสี่ยงที่ธุรกิจครอบครัวจะต้องให้ความสำคัญมี 3 หัวข้อใหญ่ดังนี้ 1. วัฒนธรรมครอบครัว เป็นส่วนสำคัญของธรรมนูญครอบครัว ประกอบด้วย ค่านิยมของธุรกิจและของครอบครัว ซึ่งเปรียบเหมือนเสาหลักของบ้านที่ให้สมาชิกครอบครัวยึดถือปฏิบัติร่วมกัน และใช้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจครอบครัวและการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ในอนาคต 2. โครงสร้างธุรกิจ เป็นประเด็นเรื่องผลประโยชน์ต่าง ๆ มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ โครงสร้างการถือหุ้นหรือการจัดการความเป็นเจ้าของ การถือหุ้นนี้ไม่มีมาตรฐานตายตัว อาจได้มาโดยการโอนให้ การซื้อ มรดกตกทอด หรือของขวัญ ทำให้ได้สิทธิของการบริหาร และเป็นเจ้าของธุรกิจ ซึ่งถ้าไม่มีการตกลงกันก็อาจมีปัญหาเรื่องการบริหารได้ในอนาคต เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น การบริหารงานมีความซับซ้อนขึ้น การจัดตั้งคณะกรรมการบริหารก็จะเป็นส่วนที่สำคัญในเรื่องการแต่งตั้งบุคคลไม่ว่าจะเป็นสมาชิกครอบครัวหรือบุคคลภายนอก มาร่วมตัดสินใจทางยุทธศาสตร์ธุรกิจ การลงทุน พร้อมทั้งกำหนดนโยบายเรื่องเงินปันผล 3. การบริหารครอบครัว เป็นข้อตกลงกันระหว่างสมาชิกครอบครัว ที่จะดูแลความเป็นอยู่ และพัฒนาสมาชิกในระดับต่าง ๆ