FIRM Insights

Blog

“Ford V Ferrari” สะท้อนปัญหา “ผู้ก่อตั้งบดบังรัศมีทายาท”

กรณีศึกษาของการที่ผู้ก่อตั้งบดบังรัศมีทายาทนั้นเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยครั้งในธุรกิจครอบครัวที่ประสบผลสำเร็จอย่างสูงทั่วโลก เนื่องจากเราพบว่าธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จด้วยความสามารถของคนรุ่นก่อตั้งนั้น ความเป็นอัจฉริยะของผู้ก่อตั้งไม่ใช่เรื่องที่จะสามารถถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้โดยง่าย หรือโดยอัตโนมัติ
FORD

“Ford V Ferrari” สะท้อนปัญหา “ผู้ก่อตั้งบดบังรัศมีทายาท”

tetuer adip iscing

กรณีศึกษาของการที่ผู้ก่อตั้งบดบังรัศมีทายาทนั้นเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยครั้งในธุรกิจครอบครัวที่ประสบผลสำเร็จอย่างสูงทั่วโลก เนื่องจากเราพบว่าธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จด้วยความสามารถของคนรุ่นก่อตั้งนั้น ความเป็นอัจฉริยะของผู้ก่อตั้งไม่ใช่เรื่องที่จะสามารถถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้โดยง่าย หรือโดยอัตโนมัติ ลูกหลานที่เข้ามารับช่วงต่อมักจะพบกับความท้าทายในการสานต่อชื่อเสียงและการยอมรับจากผู้คนทั่วไปให้เท่าเทียมหรือดีกว่าผู้ก่อตั้งนั้น แม้ว่าในบางครั้งความสามารถอาจจะไม่ได้ด้อยกว่าเลยก็ตาม ถ้าใครเคยได้ดูภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลออสการ์เรื่อง FORD V FERRARI ที่ออกฉายในปี 2019  หนังเรื่องนี้สร้างมาจากเหตุการณ์จริงในช่วงเวลาที่ FORD ผู้มั่งคั่งต้องการที่จะลงสนามแข่งรถเพื่อที่จะเอาชนะผู้ครองแชมป์คือ FERRARI เมื่อกว่า  50 ปีมาแล้ว  ในที่นี้ผู้เขียนจะไม่ขอเล่าเรื่องราวการแข่งรถของทั้ง 2 ทีม แต่ขอบอกว่าหนังสนุกมากเรื่องหนึ่ง แต่จะขอจับเหตุการณ์สำคัญช่วงตอนที่ FERRARI ประกาศขายบริษัทเพราะทุ่มเงินไปกับการแข่งรถเพื่อชื่อเสียงความสะใจจนทำให้ขาดสภาพคล่อง  เรื่องไปเข้าหูทายาทรุ่นที่ 3 คือ Henny Ford II ผู้มั่งคั่งจากสิ่งที่ Henny Ford ผู้เป็นปู่ได้สร้างไว้ จึงตัดสินใจส่งผู้บริหารดาวรุ่งคือ Lee Iacocca ไปขอซื้อกิจการกับเจ้าของ FERRARI นั่นคือนาย Enzo Ferrari ที่อิตาลี ด้วยความมีชื่อเสียงของ Ford ข้อเสนอดูเหมือนจะเอาเปรียบ Ferrari พอควร  Enzo Ferrari  ได้ตอบปฏิเสธในทันทีทันใดโดยให้เหตุผลว่า คุณไม่ใช่ Henny Ford คุณมันคือ Henny Ford II ดังนั้นไม่ขาย เกิดอะไรขึ้น มันหยามกันชัดๆ และในที่สุด Enzo Ferrari  ก็ขายธุรกิจให้ตระกูล Agnellis เจ้าของ Fiat นั่นเอง  เรื่องราวในหนังจะเป็นอย่างไรลองไปหาชมดู แต่เรามาลองศึกษาประวัติธุรกิจครอบครัว Ford กันหน่อยว่า Henry Ford สร้างชื่อเสียงจนบดบังความสามารถของทายาทในรุ่นต่อไปกันได้อย่างไร Henny Ford ถือเป็นผู้ประกอบการที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุดของอุตสาหกรรมรถยนต์ เกิดที่มิชิแกนในปี 1863 เขาสนใจในเรื่องเครื่องยนต์กลไกตั้งแต่เด็ก ๆ หลังจากแม่เสียชีวิต Henry Ford ซึ่งเป็นพี่คนโตในจำนวนน้องอีก 8 คน ครอบครัวเริ่มลำบาก เขาเลยทำงานหามรุ่งหามค่ำและทำงานไปด้วยเรียนด้านธุรกิจไปด้วย พร้อมด้วยแรงผลักดันที่สูง….
FORD

“Ford V Ferrari” สะท้อนปัญหา “ผู้ก่อตั้งบดบังรัศมีทายาท”

กรณีศึกษาของการที่ผู้ก่อตั้งบดบังรัศมีทายาทนั้นเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยครั้งในธุรกิจครอบครัวที่ประสบผลสำเร็จอย่างสูงทั่วโลก เนื่องจากเราพบว่าธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จด้วยความสามารถของคนรุ่นก่อตั้งนั้น ความเป็นอัจฉริยะของผู้ก่อตั้งไม่ใช่เรื่องที่จะสามารถถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้โดยง่าย หรือโดยอัตโนมัติ ลูกหลานที่เข้ามารับช่วงต่อมักจะพบกับความท้าทายในการสานต่อชื่อเสียงและการยอมรับจากผู้คนทั่วไปให้เท่าเทียมหรือดีกว่าผู้ก่อตั้งนั้น แม้ว่าในบางครั้งความสามารถอาจจะไม่ได้ด้อยกว่าเลยก็ตาม ถ้าใครเคยได้ดูภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลออสการ์เรื่อง FORD V FERRARI ที่ออกฉายในปี 2019  หนังเรื่องนี้สร้างมาจากเหตุการณ์จริงในช่วงเวลาที่ FORD ผู้มั่งคั่งต้องการที่จะลงสนามแข่งรถเพื่อที่จะเอาชนะผู้ครองแชมป์คือ FERRARI เมื่อกว่า  50 ปีมาแล้ว  ในที่นี้ผู้เขียนจะไม่ขอเล่าเรื่องราวการแข่งรถของทั้ง 2 ทีม แต่ขอบอกว่าหนังสนุกมากเรื่องหนึ่ง แต่จะขอจับเหตุการณ์สำคัญช่วงตอนที่ FERRARI ประกาศขายบริษัทเพราะทุ่มเงินไปกับการแข่งรถเพื่อชื่อเสียงความสะใจจนทำให้ขาดสภาพคล่อง  เรื่องไปเข้าหูทายาทรุ่นที่ 3 คือ Henny Ford II ผู้มั่งคั่งจากสิ่งที่ Henny Ford ผู้เป็นปู่ได้สร้างไว้ จึงตัดสินใจส่งผู้บริหารดาวรุ่งคือ Lee Iacocca ไปขอซื้อกิจการกับเจ้าของ FERRARI นั่นคือนาย Enzo Ferrari ที่อิตาลี ด้วยความมีชื่อเสียงของ Ford ข้อเสนอดูเหมือนจะเอาเปรียบ Ferrari พอควร  Enzo Ferrari  ได้ตอบปฏิเสธในทันทีทันใดโดยให้เหตุผลว่า คุณไม่ใช่ Henny Ford คุณมันคือ Henny Ford II ดังนั้นไม่ขาย เกิดอะไรขึ้น มันหยามกันชัดๆ และในที่สุด Enzo Ferrari  ก็ขายธุรกิจให้ตระกูล Agnellis เจ้าของ Fiat นั่นเอง  เรื่องราวในหนังจะเป็นอย่างไรลองไปหาชมดู แต่เรามาลองศึกษาประวัติธุรกิจครอบครัว Ford กันหน่อยว่า Henry Ford สร้างชื่อเสียงจนบดบังความสามารถของทายาทในรุ่นต่อไปกันได้อย่างไร Henny Ford ถือเป็นผู้ประกอบการที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุดของอุตสาหกรรมรถยนต์ เกิดที่มิชิแกนในปี 1863 เขาสนใจในเรื่องเครื่องยนต์กลไกตั้งแต่เด็ก ๆ หลังจากแม่เสียชีวิต Henry Ford ซึ่งเป็นพี่คนโตในจำนวนน้องอีก

ค่านิยมครอบครัว : ส่วนผสมลับที่ไม่มีใครลอกเลียนแบบได้

จากความเห็นในสังคมออนไลน์ที่มีต่อธุรกิจครอบครัวหนึ่งที่ การกระทำการขัดแย้งสายตาของประชาชนเป็นวงกว้าง เกิดคำวิจารณ์มากมาย อาทิ “การเป็นนักธุรกิจที่ดีควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม และหนึ่งในความรับผิดชอบนั้นคือ ท่านควรอบรม ดูแล บุตรหลานบริวารที่เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอยู่กินกับยอดขายนี้)
FIRM

ค่านิยมครอบครัว : ส่วนผสมลับที่ไม่มีใครลอกเลียนแบบได้

tetuer adip iscing

จากความเห็นในสังคมออนไลน์ที่มีต่อธุรกิจครอบครัวหนึ่งที่ การกระทำการขัดแย้งสายตาของประชาชนเป็นวงกว้าง เกิดคำวิจารณ์มากมาย อาทิ “การเป็นนักธุรกิจที่ดีควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม และหนึ่งในความรับผิดชอบนั้นคือ ท่านควรอบรม ดูแล บุตรหลานบริวารที่เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอยู่กินกับยอดขายนี้)ให้ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อคนในสังคม ไม่เอารัดเอาเปรียบในทางมิชอบ แต่เมื่อผิดพลาดจากสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้แล้ว ท่านควรรับผิดชอบต่อการกระทำนั้นให้ดีที่สุดเพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับคนในสังคมส่วนรวมไม่ทางตรงก็ทางอ้อม” นี่คือหนึ่งในหลายพันความเห็นทั้งในเชิงลบ ตำหนิว่ากล่าว ตักเตือน บางความเห็นไม่สามารถเอามาลงในที่นี่ได้พุ่งเข้าใส่คนในตระกูลซึ่งเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากเจอ ถ้าเราทำธุรกิจครอบครัวที่สัมพันธ์กับคนหมู่มากที่เป็น Consumer Product ก็ดีหรือการบริการก็ดี ถ้าเกิดปัญหาขึ้นครอบครัวก็ควรรีบแก้ปัญหาก่อนที่เรื่องราวจะลุกลามใหญ่โต มีคนถามว่าเราควรทำอย่างไร ข้อตกลงอะไรในครอบครัวที่จะป้องกันเหตุการณ์แบบนี้ได้ คำสอนของผู้ก่อตั้งที่สมาชิกครอบครัวยึดถือปฏิบัติ ถือเป็นรากฐานของธุรกิจครอบครัว ถ้าบ้านไหนยังไม่เคยคุยกันเรื่องพวกนี้เลย หรือยังไม่มีความชัดเจน สมาชิกครอบครัวก็ควรจะหันมาให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ถ้าบ้านไหนมีคำสอนที่บรรพบุรุษได้สั่งสอนไว้แล้ว เราควรจะสืบสาน และปลูกฝังลูกหลานเราตั้งแต่เนิ่น ๆ ให้เป็นค่านิยมของครอบครัว และให้บันทึกเป็นบทบาทหน้าที่ในธรรมนูญครอบครัวที่สมาชิกครอบครัวต้องปฏิบัติตาม ค่านิยมครอบครัวอาจดูเหมือนเป็นเรื่องที่จับต้องไม่ได้ แต่ค่านิยมที่ชัดเจนและได้รับการยึดถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ฝังรากลึกลงไปในธุรกิจจนเกิดเป็นวัฒนธรรมของครอบครัวที่ใคร ๆ ให้การยอมรับ ถือเป็นจุดต่างสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจครอบครัวหนึ่งมีความแตกต่าง และได้เปรียบจากธุรกิจอื่น ที่เงินไม่สามารถซื้อได้ นอกเหนือจากเรื่องของสินค้า การบริการ นโยบายราคา สถานที่ตั้ง หรือพนักงานที่ทำงานในธุรกิจ  ค่านิยมถือเป็นส่วนผสมลับ (Secret Ingredients) ที่ไม่มีใครสามารถเลียนแบบได้  ถ้าทุกคนยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด มันคือต้นทุนที่ประเมินค่าไม่ได้ การได้มาถึงภาพพจน์เหล่านี้ต้องใช้เวลาสร้างนับสิบ นับร้อยปีในแต่ละครอบครัว เป็นต้นทุนมูลค่ามหาศาล และเป็นความภาคภูมิใจจากรุ่นสู่รุ่นถ้าเรารักษามันไว้ได้ จากประสบการณ์ทำงานของบริษัทที่ปรึกษาเฟิร์มกับครอบครัวไทยกว่า  40 ตระกูลในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาเราได้พบกรณีศึกษาที่น่าสนใจของครอบครัวธุรกิจไทยมากมาย ตัวอย่างเช่น ครอบครัวหนึ่งที่มีค่านิยมการแบ่งปันโดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ แต่ผลการแบ่งปันนี้กลับกลายเป็นเครื่องมือทางการบริหาร และการตลาดที่ทรงพลังมาก ครอบครัวนี้ทำธุรกิจเติบโตขึ้นในต่างจังหวัดมีพนักงานร่วมพันคน และมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยผู้ก่อตั้งมีเป้าหมายเรื่องการช่วยเหลือสังคมโดยบริจาคเครื่องมือแพทย์ให้โรงพยาบาลเป็นตัวเลข 7 หลัก เป็นประจำหลายปีติดต่อกันและยังทำต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ เครื่องมือแพทย์ได้ช่วยชีวิตผู้คนในจังหวัดมากมาย ผลที่ได้รับโดยที่ผู้ก่อตั้งไม่คาดคิดมาก่อนคือ ครอบครัวของพนักงานทุกคนที่ทำงานที่บริษัทนี้จะได้รับการดูแลเป็นอย่างดีเมื่อต้องมีเหตุเข้าโรงพยาบาล  ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เรียกร้องอะไรเลย กลายเป็นสวัสดิการรูปแบบใหม่ ผลที่ตามมาคือ พนักงานมีความรักองค์กรทุกคน ธุรกิจคู่แข่งเข้ามาเปิดแข่งในพื้นที่ วิธีที่ง่ายที่สุดทางธุรกิจคือการซื้อตัวพนักงานไปทำงานเลย แต่ปรากฎว่าไม่มีพนักงานคนไหนลาออกไปอยู่กับบริษัทคู่แข่งสักคนเดียว ไม่มีสมองไหล การตลาดก็เข็มแข็งขึ้นทุกวันทุกวัน ขณะที่อีกครอบครัวหนึ่งทำธุรกิจโรงแรมที่ผู้ก่อตั้งได้ส่งต่อธุรกิจให้ลูก ๆ ไปแล้ว แต่แทนที่ตัวเองจะพักผ่อน กลับไปสร้างโรงแรมในต่างจังหวัดเพิ่มอีก….
FIRM

ค่านิยมครอบครัว : ส่วนผสมลับที่ไม่มีใครลอกเลียนแบบได้

จากความเห็นในสังคมออนไลน์ที่มีต่อธุรกิจครอบครัวหนึ่งที่ การกระทำการขัดแย้งสายตาของประชาชนเป็นวงกว้าง เกิดคำวิจารณ์มากมาย อาทิ “การเป็นนักธุรกิจที่ดีควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม และหนึ่งในความรับผิดชอบนั้นคือ ท่านควรอบรม ดูแล บุตรหลานบริวารที่เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอยู่กินกับยอดขายนี้)ให้ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อคนในสังคม ไม่เอารัดเอาเปรียบในทางมิชอบ แต่เมื่อผิดพลาดจากสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้แล้ว ท่านควรรับผิดชอบต่อการกระทำนั้นให้ดีที่สุดเพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับคนในสังคมส่วนรวมไม่ทางตรงก็ทางอ้อม” นี่คือหนึ่งในหลายพันความเห็นทั้งในเชิงลบ ตำหนิว่ากล่าว ตักเตือน บางความเห็นไม่สามารถเอามาลงในที่นี่ได้พุ่งเข้าใส่คนในตระกูลซึ่งเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากเจอ ถ้าเราทำธุรกิจครอบครัวที่สัมพันธ์กับคนหมู่มากที่เป็น Consumer Product ก็ดีหรือการบริการก็ดี ถ้าเกิดปัญหาขึ้นครอบครัวก็ควรรีบแก้ปัญหาก่อนที่เรื่องราวจะลุกลามใหญ่โต มีคนถามว่าเราควรทำอย่างไร ข้อตกลงอะไรในครอบครัวที่จะป้องกันเหตุการณ์แบบนี้ได้ คำสอนของผู้ก่อตั้งที่สมาชิกครอบครัวยึดถือปฏิบัติ ถือเป็นรากฐานของธุรกิจครอบครัว ถ้าบ้านไหนยังไม่เคยคุยกันเรื่องพวกนี้เลย หรือยังไม่มีความชัดเจน สมาชิกครอบครัวก็ควรจะหันมาให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ถ้าบ้านไหนมีคำสอนที่บรรพบุรุษได้สั่งสอนไว้แล้ว เราควรจะสืบสาน และปลูกฝังลูกหลานเราตั้งแต่เนิ่น ๆ ให้เป็นค่านิยมของครอบครัว และให้บันทึกเป็นบทบาทหน้าที่ในธรรมนูญครอบครัวที่สมาชิกครอบครัวต้องปฏิบัติตาม ค่านิยมครอบครัวอาจดูเหมือนเป็นเรื่องที่จับต้องไม่ได้ แต่ค่านิยมที่ชัดเจนและได้รับการยึดถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ฝังรากลึกลงไปในธุรกิจจนเกิดเป็นวัฒนธรรมของครอบครัวที่ใคร ๆ ให้การยอมรับ ถือเป็นจุดต่างสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจครอบครัวหนึ่งมีความแตกต่าง และได้เปรียบจากธุรกิจอื่น ที่เงินไม่สามารถซื้อได้ นอกเหนือจากเรื่องของสินค้า การบริการ นโยบายราคา สถานที่ตั้ง หรือพนักงานที่ทำงานในธุรกิจ  ค่านิยมถือเป็นส่วนผสมลับ (Secret Ingredients) ที่ไม่มีใครสามารถเลียนแบบได้  ถ้าทุกคนยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด มันคือต้นทุนที่ประเมินค่าไม่ได้ การได้มาถึงภาพพจน์เหล่านี้ต้องใช้เวลาสร้างนับสิบ นับร้อยปีในแต่ละครอบครัว เป็นต้นทุนมูลค่ามหาศาล และเป็นความภาคภูมิใจจากรุ่นสู่รุ่นถ้าเรารักษามันไว้ได้ จากประสบการณ์ทำงานของบริษัทที่ปรึกษาเฟิร์มกับครอบครัวไทยกว่า  40 ตระกูลในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาเราได้พบกรณีศึกษาที่น่าสนใจของครอบครัวธุรกิจไทยมากมาย ตัวอย่างเช่น ครอบครัวหนึ่งที่มีค่านิยมการแบ่งปันโดยไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ แต่ผลการแบ่งปันนี้กลับกลายเป็นเครื่องมือทางการบริหาร และการตลาดที่ทรงพลังมาก ครอบครัวนี้ทำธุรกิจเติบโตขึ้นในต่างจังหวัดมีพนักงานร่วมพันคน และมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยผู้ก่อตั้งมีเป้าหมายเรื่องการช่วยเหลือสังคมโดยบริจาคเครื่องมือแพทย์ให้โรงพยาบาลเป็นตัวเลข 7 หลัก เป็นประจำหลายปีติดต่อกันและยังทำต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ เครื่องมือแพทย์ได้ช่วยชีวิตผู้คนในจังหวัดมากมาย ผลที่ได้รับโดยที่ผู้ก่อตั้งไม่คาดคิดมาก่อนคือ ครอบครัวของพนักงานทุกคนที่ทำงานที่บริษัทนี้จะได้รับการดูแลเป็นอย่างดีเมื่อต้องมีเหตุเข้าโรงพยาบาล  ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เรียกร้องอะไรเลย กลายเป็นสวัสดิการรูปแบบใหม่ ผลที่ตามมาคือ พนักงานมีความรักองค์กรทุกคน ธุรกิจคู่แข่งเข้ามาเปิดแข่งในพื้นที่ วิธีที่ง่ายที่สุดทางธุรกิจคือการซื้อตัวพนักงานไปทำงานเลย แต่ปรากฎว่าไม่มีพนักงานคนไหนลาออกไปอยู่กับบริษัทคู่แข่งสักคนเดียว ไม่มีสมองไหล การตลาดก็เข็มแข็งขึ้นทุกวันทุกวัน

6 เคล็ดลับการวางแผนสืบทอดธุรกิจครอบครัว

จากความเห็นในสังคมออนไลน์ที่มีต่อธุรกิจครอบครัวหนึ่งที่ การกระทำการขัดแย้งสายตาของประชาชนเป็นวงกว้าง เกิดคำวิจารณ์มากมาย อาทิ “การเป็นนักธุรกิจที่ดีควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม และหนึ่งในความรับผิดชอบนั้นคือ ท่านควรอบรม ดูแล บุตรหลานบริวารที่เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอยู่กินกับยอดขายนี้)
FIRM

6 เคล็ดลับการวางแผนสืบทอดธุรกิจครอบครัว

tetuer adip iscing

การส่งมอบธุรกิจธุรกิจควรทำในช่วงเวลาที่เหมาะสม และไม่ควรจะรีบทำเร็วเกินไป หากยังไม่มีการวางแผนที่ดี หรือไม่มีการเตรียมการล่วงหน้า ที่ผ่านมาเราคงจะเห็นหลายครอบครัวที่ผู้นำธุรกิจไม่ยอมวางมือปล่อยให้ลูกหลานขึ้นมารับผิดชอบแทนแม้จะอายุมากแล้ว เนื่องจากยังมีความไม่ไว้ใจหรือเชื่อมั่นพอว่าธุรกิจที่สร้างขึ้นจากน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง จะได้รับการสืบทอดด้วยดีจากทายาท หรือมีความกังวลในการเลือกตัวผู้สืบทอด ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นมาก็เพราะไม่ได้มีการเตรียมการวางแผนสืบทอด (Succession Plan) ไว้แต่เนิ่น ๆ นั่นเอง จากประสบการณ์ของที่บริษัทที่ปรึกษา “เฟิร์ม” ที่เราได้มีการให้คำปรึกษาจัดทำธรรมนูญครอบครัวแก่ครอบครัวไทยมากกว่า 40 ครอบครัวในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เรามีข้อแนะนำดังต่อไปนี้        1.ควรเริ่มวางแผนสืบทอด และเริ่มลงมือทำให้เร็วที่สุด โดยเปิดโอกาสให้ลูก ๆ ได้รับรู้เรื่องธุรกิจตั้งแต่ยังเด็ก และปลูกฝังประสบการณ์ที่ดีให้ซึมซับตลอดเวลา หลายครอบครัวลูก ๆ จะได้ของเล่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ทำ และปลูกฝังเรื่อยมาจนโต  ดีกว่าต้องให้ลูกตั้งคำถามตอนโตว่า ใครเป็นคนได้หุ้น ใครได้เป็นผู้นำ ซึ่งถ้าไม่ได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า 2 คำถามนี้จะหาคำตอบได้ยากที่สุด และอาจทำให้เกิดกรณีพิพาทได้หากลูก ๆ ไม่ได้ตามที่ตัวเองคิดหรือหวังไว้   โดยถ้ามีการวางแผนไว้ล่วงหน้า หรือมีข้อตกลงบางอย่างให้รับทราบกันไว้ก่อน ก็จะช่วยลดการปะทะระหว่างกันเมื่อถึงเวลาต้องตัดสินใจ กล่าวโดยสรุปแล้วการวางแผนสืบทอดควรเริ่ม: -ปลูกฝังลูก ๆ ตั้งแต่ยังเด็ก ๆ ให้รับรู้ธุรกิจที่ครอบครัวดำเนินการอยู่ -ให้ลูกเข้ามาฝึกงานในช่วงปิดเทอม ทั้งการทำงานในแผนกต่าง ๆ การตั้งโจทย์ให้ลูก ๆ เข้าไปรับผิดชอบ การจำลองตั้งคณะกรรมการธุรกิจกรณีมีลูกหลานหลายคนเพื่อวางแผนตามที่ได้มอบหมาย -การสร้างทีมเวิร์คระหว่างพี่น้อง การทำ Coaching พี่สอนน้อง -การพูดคุยในโต๊ะอาหาร   อยากทำธุรกิจของแม่มากกว่า การปลูกฝังให้ลูกได้ซึมซับในธุรกิจของครอบครัวมีความสำคัญอย่างมาก เรามีกรณีตัวอย่างของครอบครัวหนึ่งที่สมาชิกรุ่นที่ 3 ซึ่งกำลังเรียนจบและถูกวางตัวให้เป็นผู้สืบทอดธุรกิจคนต่อไปต่อจากพ่อ  โดยรู้ตัวดีว่าจะต้องเข้ามารับช่วงธุรกิจของตระกูลต่อจากพ่อ แต่ถ้าจะให้เลือกจริง ๆ ตอนนี้เขาอยากทำธุรกิจของแม่มากกว่า ที่มาที่ไปของเรื่องนี้คือสมาชิกท่านนี้ในตอนเด็ก ๆ พ่อทำงานหนักจึงไม่มีเวลาเลี้ยงดู ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแม่ ในขณะที่แม่เองก็มีหน้าที่ดูแลธุรกิจครอบครัวของที่บ้านอยู่ด้วย แม่เลยต้องพาลูก ๆ ไปวิ่งเล่นอยู่ที่โรงงานของครอบครัวของแม่ ทุก ๆ วันหลังเวลาเลิกเรียน ลูก ๆ เลยได้ซึมซับธุรกิจทางฝั่งครอบครัวของแม่อยู่ตลอดเวลา แถมยังได้ช่วยพนักงานทำบัญชีอีก ขณะที่อีกครอบครัวหนึ่ง เมื่อถึงเวลาที่จะต้องเข้ามาทำจริงจัง ลูกรู้สึกอายเพื่อนว่า ธุรกิจของครอบครัวไม่ทันสมัยเหมือนของเพื่อน ๆ แต่ด้วยการปลูกฝังและเห็นพ่อทำงานหนักตั้งแต่ยังเล็ก….
FIRM

6 เคล็ดลับการวางแผนสืบทอดธุรกิจครอบครัว

การส่งมอบธุรกิจธุรกิจควรทำในช่วงเวลาที่เหมาะสม และไม่ควรจะรีบทำเร็วเกินไป หากยังไม่มีการวางแผนที่ดี หรือไม่มีการเตรียมการล่วงหน้า ที่ผ่านมาเราคงจะเห็นหลายครอบครัวที่ผู้นำธุรกิจไม่ยอมวางมือปล่อยให้ลูกหลานขึ้นมารับผิดชอบแทนแม้จะอายุมากแล้ว เนื่องจากยังมีความไม่ไว้ใจหรือเชื่อมั่นพอว่าธุรกิจที่สร้างขึ้นจากน้ำพักน้ำแรงของตัวเอง จะได้รับการสืบทอดด้วยดีจากทายาท หรือมีความกังวลในการเลือกตัวผู้สืบทอด ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นมาก็เพราะไม่ได้มีการเตรียมการวางแผนสืบทอด (Succession Plan) ไว้แต่เนิ่น ๆ นั่นเอง จากประสบการณ์ของที่บริษัทที่ปรึกษา “เฟิร์ม” ที่เราได้มีการให้คำปรึกษาจัดทำธรรมนูญครอบครัวแก่ครอบครัวไทยมากกว่า 40 ครอบครัวในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เรามีข้อแนะนำดังต่อไปนี้        1.ควรเริ่มวางแผนสืบทอด และเริ่มลงมือทำให้เร็วที่สุด โดยเปิดโอกาสให้ลูก ๆ ได้รับรู้เรื่องธุรกิจตั้งแต่ยังเด็ก และปลูกฝังประสบการณ์ที่ดีให้ซึมซับตลอดเวลา หลายครอบครัวลูก ๆ จะได้ของเล่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ทำ และปลูกฝังเรื่อยมาจนโต  ดีกว่าต้องให้ลูกตั้งคำถามตอนโตว่า ใครเป็นคนได้หุ้น ใครได้เป็นผู้นำ ซึ่งถ้าไม่ได้มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า 2 คำถามนี้จะหาคำตอบได้ยากที่สุด และอาจทำให้เกิดกรณีพิพาทได้หากลูก ๆ ไม่ได้ตามที่ตัวเองคิดหรือหวังไว้   โดยถ้ามีการวางแผนไว้ล่วงหน้า หรือมีข้อตกลงบางอย่างให้รับทราบกันไว้ก่อน ก็จะช่วยลดการปะทะระหว่างกันเมื่อถึงเวลาต้องตัดสินใจ กล่าวโดยสรุปแล้วการวางแผนสืบทอดควรเริ่ม: -ปลูกฝังลูก ๆ ตั้งแต่ยังเด็ก ๆ ให้รับรู้ธุรกิจที่ครอบครัวดำเนินการอยู่ -ให้ลูกเข้ามาฝึกงานในช่วงปิดเทอม ทั้งการทำงานในแผนกต่าง ๆ การตั้งโจทย์ให้ลูก ๆ เข้าไปรับผิดชอบ การจำลองตั้งคณะกรรมการธุรกิจกรณีมีลูกหลานหลายคนเพื่อวางแผนตามที่ได้มอบหมาย -การสร้างทีมเวิร์คระหว่างพี่น้อง การทำ Coaching พี่สอนน้อง -การพูดคุยในโต๊ะอาหาร   อยากทำธุรกิจของแม่มากกว่า การปลูกฝังให้ลูกได้ซึมซับในธุรกิจของครอบครัวมีความสำคัญอย่างมาก เรามีกรณีตัวอย่างของครอบครัวหนึ่งที่สมาชิกรุ่นที่ 3 ซึ่งกำลังเรียนจบและถูกวางตัวให้เป็นผู้สืบทอดธุรกิจคนต่อไปต่อจากพ่อ  โดยรู้ตัวดีว่าจะต้องเข้ามารับช่วงธุรกิจของตระกูลต่อจากพ่อ แต่ถ้าจะให้เลือกจริง ๆ ตอนนี้เขาอยากทำธุรกิจของแม่มากกว่า ที่มาที่ไปของเรื่องนี้คือสมาชิกท่านนี้ในตอนเด็ก ๆ พ่อทำงานหนักจึงไม่มีเวลาเลี้ยงดู ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของแม่ ในขณะที่แม่เองก็มีหน้าที่ดูแลธุรกิจครอบครัวของที่บ้านอยู่ด้วย แม่เลยต้องพาลูก ๆ ไปวิ่งเล่นอยู่ที่โรงงานของครอบครัวของแม่ ทุก ๆ วันหลังเวลาเลิกเรียน ลูก ๆ เลยได้ซึมซับธุรกิจทางฝั่งครอบครัวของแม่อยู่ตลอดเวลา แถมยังได้ช่วยพนักงานทำบัญชีอีก ขณะที่อีกครอบครัวหนึ่ง

รักลูกเท่ากันแต่จ่ายเงินเดือนไม่เท่ากัน…ได้หรือ?

ในเรื่องเงินเดือนและผลตอบแทน เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ายากนักที่จะมีพนักงานพอใจ 100%  เพราะพนักงานก็จะมีการเปรียบเทียบกับตลอดเวลาว่าทำไมเราได้น้อยกว่าคนอื่น ทั้ง ๆ เรามีความรับผิดชอบมากกว่า ทำงานดีกว่า อาวุโสกว่า ประสบการณ์มากกว่า ฯลฯ องค์กรต่าง ๆ จึงมีนโยบายให้เรื่องเงินเดือนเป็นความลับที่ห้ามเปิดเผยระหว่างกัน แต่ความลับก็ดูเหมือนจะไม่มีในโลกอยู่ร่ำไป
FIRM

รักลูกเท่ากันแต่จ่ายเงินเดือนไม่เท่ากัน…ได้หรือ?

tetuer adip iscing

ในเรื่องเงินเดือนและผลตอบแทน เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ายากนักที่จะมีพนักงานพอใจ 100%  เพราะพนักงานก็จะมีการเปรียบเทียบกันตลอดเวลาว่าทำไมเราได้น้อยกว่าคนอื่น ทั้ง ๆ เรามีความรับผิดชอบมากกว่า ทำงานดีกว่า อาวุโสกว่า ประสบการณ์มากกว่า ฯลฯ องค์กรต่าง ๆ จึงมีนโยบายให้เรื่องเงินเดือนเป็นความลับที่ห้ามเปิดเผยระหว่างกัน แต่ความลับก็ดูเหมือนจะไม่มีในโลกอยู่ร่ำไป ยิ่งเมื่อเป็นเรื่องของการให้ผลตอบแทนสมาชิกในธุรกิจครอบครัว ซึ่งเป็นบุตรหลาน หรือญาติ พี่น้องเราในธุรกิจครอบครัว ปัญหานี้ยิ่งทวีความซับซ้อนขึ้นไปอีก จากการที่ได้ทำงานใกล้ชิดให้คำปรึกษาธุรกิจครอบครัวของทีมงาน “เฟิร์ม” ในช่วง10  ปีที่ผ่านมา เราพบว่าปัญหาการกำหนดเงินเดือน ค่าจ้าง ผลตอบแทนให้สมาชิกครอบครัวเป็นเรื่องที่หลายครอบครัวประสบปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ  อาทิ การที่สมาชิกบางคนมีความรู้สึกว่าได้รับเงินเดือนน้อยกว่าหน้าที่ความรับผิดชอบที่ทำอยู่ น้อยกว่ามาตรฐานในตลาด หรือน้อยกว่าสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัว  หรือสมาชิกบางคนมีไลฟ์สไตล์ส่วนตัว มีการเข้าสังคม ซึ่งมีรายจ่ายสูงจึงต้องการเงินเดือนสูง ขณะที่สมาชิกบางรายไม่นิยมความฟุ่มเฟือย ไม่มีครอบครัว ไม่มีลูก จึงพอใจกับระดับเงินเดือนมาตรฐาน  และอยากให้ธุรกิจเก็บกำไรไว้จ่ายไว้ลงทุนขยายกิจการมากกว่า จากประสบการณ์เราพบว่าครอบครัวต่าง ๆ มีหลักเกณฑ์ วิธีการในการให้ผลตอบแทนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความจำเป็นและโครงสร้างครอบครัว ที่หลากหลาย ครอบครัวขนาดเล็ก ครอบครัวขนาดใหญ่  ไม่ว่าจะให้แบบไหนด้วยเหตุผลใดก็มีข้อดีและข้อเสียที่ควรระวัง การให้ผลตอบแทนตามใจผู้ก่อตั้ง เพราะธุรกิจเป็นของตัวเองจึงไม่ต้องมีมาตรฐานใด ๆ ขอให้ลูก ๆ ได้เข้ามาทำงานก็พอ เราพบเห็นในหลายครอบครัวที่พ่อจะให้เงินเดือนลูกตามความพอใจ มีทั้งมากน้อยแตกต่างกัน ถ้าเป็นลูกคนเดียวหรือมีลูกเข้ามาทำงานแค่คนเดียว จะไม่ค่อยมีปัญหาเพราะไม่มีใครมาเปรียบเทียบ แต่ถ้าบ้านไหนมีลูกเข้ามาทำงานตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไป ก็จะเริ่มมีประเด็นให้ต้องคิดแล้ว สมมุติถ้าลูกคนแรกเข้ามาทำงานให้เงินเดือน 50,000 บาท ลูกคนที่ 2 เข้าทำงานในอีก 2 ปีหลังจบการศึกษา และได้เงินเดือนเท่ากับคนแรก อะไรจะเกิดขึ้น? คนแรกอาจจะเริ่มรู้สึกว่าเค้าทำงานมาก่อน มีประสบการณ์มากกว่าทำไมได้เงินเดือนเท่ากัน หรือสมาชิก 2 คนเงินเดือนเท่ากันแต่ถ้างานมีความยากง่ายแตกต่างกัน หรือถ้าขึ้นเงินเดือนลูกคนหนึ่งที่ดูมีผลงานมากกว่า  อีกคนจะทำอย่างไร? หรือคนหนึ่งทำงานข้างนอกอีกคนทำงานธุรกิจครอบครัวมาโดยตลอด พอจะดึงลูกที่ทำงานข้างนอกเข้ามาจะต้องจ่ายเงินเดือนที่สูงขึ้น สมาชิกที่ทำข้างในจะทำอย่างไร หลายครอบครัวมักจะให้เงินเดือนลูกคนโตสูงกว่าคนรองด้วยเหตุผลว่าเค้าเป็นพี่หรือเพราะอะไร เป็นต้น วิธีการนี้สามารถใช้ได้ในช่วงที่ผู้ก่อตั้งบริหารงานอยู่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปครอบครัวใหญ่ขึ้นแยกออกมาหลายสายครอบครัว อาจนำความยุ่งยากมาสู่รุ่นต่อไปในการกำหนดผลตอบแทนว่าจะทำอย่างไรกันต่อไป การให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าอัตราตลาดในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือต่ำกว่ามืออาชีพที่จ้างเข้ามา สมาชิกครอบครัวที่รู้สึกว่าตัวเองได้เงินเดือนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทำงานหนักแต่รับผิดชอบสูง  สมาชิกบางคนเอาไปเปรียบเทียบกับที่ตนเองเคยทำงานข้างนอก มีเลขา มีรถประจำตำแหน่ง….
FIRM

รักลูกเท่ากันแต่จ่ายเงินเดือนไม่เท่ากัน…ได้หรือ?

ในเรื่องเงินเดือนและผลตอบแทน เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่ายากนักที่จะมีพนักงานพอใจ 100%  เพราะพนักงานก็จะมีการเปรียบเทียบกันตลอดเวลาว่าทำไมเราได้น้อยกว่าคนอื่น ทั้ง ๆ เรามีความรับผิดชอบมากกว่า ทำงานดีกว่า อาวุโสกว่า ประสบการณ์มากกว่า ฯลฯ องค์กรต่าง ๆ จึงมีนโยบายให้เรื่องเงินเดือนเป็นความลับที่ห้ามเปิดเผยระหว่างกัน แต่ความลับก็ดูเหมือนจะไม่มีในโลกอยู่ร่ำไป ยิ่งเมื่อเป็นเรื่องของการให้ผลตอบแทนสมาชิกในธุรกิจครอบครัว ซึ่งเป็นบุตรหลาน หรือญาติ พี่น้องเราในธุรกิจครอบครัว ปัญหานี้ยิ่งทวีความซับซ้อนขึ้นไปอีก จากการที่ได้ทำงานใกล้ชิดให้คำปรึกษาธุรกิจครอบครัวของทีมงาน “เฟิร์ม” ในช่วง10  ปีที่ผ่านมา เราพบว่าปัญหาการกำหนดเงินเดือน ค่าจ้าง ผลตอบแทนให้สมาชิกครอบครัวเป็นเรื่องที่หลายครอบครัวประสบปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ  อาทิ การที่สมาชิกบางคนมีความรู้สึกว่าได้รับเงินเดือนน้อยกว่าหน้าที่ความรับผิดชอบที่ทำอยู่ น้อยกว่ามาตรฐานในตลาด หรือน้อยกว่าสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัว  หรือสมาชิกบางคนมีไลฟ์สไตล์ส่วนตัว มีการเข้าสังคม ซึ่งมีรายจ่ายสูงจึงต้องการเงินเดือนสูง ขณะที่สมาชิกบางรายไม่นิยมความฟุ่มเฟือย ไม่มีครอบครัว ไม่มีลูก จึงพอใจกับระดับเงินเดือนมาตรฐาน  และอยากให้ธุรกิจเก็บกำไรไว้จ่ายไว้ลงทุนขยายกิจการมากกว่า จากประสบการณ์เราพบว่าครอบครัวต่าง ๆ มีหลักเกณฑ์ วิธีการในการให้ผลตอบแทนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ความจำเป็นและโครงสร้างครอบครัว ที่หลากหลาย ครอบครัวขนาดเล็ก ครอบครัวขนาดใหญ่  ไม่ว่าจะให้แบบไหนด้วยเหตุผลใดก็มีข้อดีและข้อเสียที่ควรระวัง การให้ผลตอบแทนตามใจผู้ก่อตั้ง เพราะธุรกิจเป็นของตัวเองจึงไม่ต้องมีมาตรฐานใด ๆ ขอให้ลูก ๆ ได้เข้ามาทำงานก็พอ เราพบเห็นในหลายครอบครัวที่พ่อจะให้เงินเดือนลูกตามความพอใจ มีทั้งมากน้อยแตกต่างกัน ถ้าเป็นลูกคนเดียวหรือมีลูกเข้ามาทำงานแค่คนเดียว จะไม่ค่อยมีปัญหาเพราะไม่มีใครมาเปรียบเทียบ แต่ถ้าบ้านไหนมีลูกเข้ามาทำงานตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไป ก็จะเริ่มมีประเด็นให้ต้องคิดแล้ว สมมุติถ้าลูกคนแรกเข้ามาทำงานให้เงินเดือน 50,000 บาท ลูกคนที่ 2 เข้าทำงานในอีก 2 ปีหลังจบการศึกษา และได้เงินเดือนเท่ากับคนแรก อะไรจะเกิดขึ้น? คนแรกอาจจะเริ่มรู้สึกว่าเค้าทำงานมาก่อน มีประสบการณ์มากกว่าทำไมได้เงินเดือนเท่ากัน หรือสมาชิก 2 คนเงินเดือนเท่ากันแต่ถ้างานมีความยากง่ายแตกต่างกัน หรือถ้าขึ้นเงินเดือนลูกคนหนึ่งที่ดูมีผลงานมากกว่า  อีกคนจะทำอย่างไร? หรือคนหนึ่งทำงานข้างนอกอีกคนทำงานธุรกิจครอบครัวมาโดยตลอด พอจะดึงลูกที่ทำงานข้างนอกเข้ามาจะต้องจ่ายเงินเดือนที่สูงขึ้น สมาชิกที่ทำข้างในจะทำอย่างไร หลายครอบครัวมักจะให้เงินเดือนลูกคนโตสูงกว่าคนรองด้วยเหตุผลว่าเค้าเป็นพี่หรือเพราะอะไร เป็นต้น วิธีการนี้สามารถใช้ได้ในช่วงที่ผู้ก่อตั้งบริหารงานอยู่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปครอบครัวใหญ่ขึ้นแยกออกมาหลายสายครอบครัว อาจนำความยุ่งยากมาสู่รุ่นต่อไปในการกำหนดผลตอบแทนว่าจะทำอย่างไรกันต่อไป การให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าอัตราตลาดในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือต่ำกว่ามืออาชีพที่จ้างเข้ามา

VIDEO

Family Business รวมเกร็ดเคล็ดลับบริหารธุรกิจครอบครัว
Family Business รวมเกร็ดเคล็ดลับบริหารธุรกิจครอบครัว
FastFish EP.25 ธุรกิจครอบครัวได้เปรียบ หรือเสียเปรียบในยุคดิสรัปฯ? (Fea. วิเชฐ ตันติวานิช)
FastFish EP.25 ธุรกิจครอบครัวได้เปรียบ หรือเสียเปรียบในยุคดิสรัปฯ? (Fea. วิเชฐ ตันติวานิช)
Victoria Mars, Mars, Inc.: How Does a Family Business Survive?
Victoria Mars, Mars, Inc.: How Does a Family Business Survive?
Adizes - How to Get Out of the Founder's Trap (EN/TH)
Adizes - How to Get Out of the Founder's Trap (EN/TH)
How the Robbins Family Went from Baskin-Robbins to the Food Revolution
How the Robbins Family Went from Baskin-Robbins to the Food Revolution
เคล็ดลับการสืบทอดธุรกิจครอบครัว และแบ่งปันผลประโยชน์ของตระกูลจิราธิวัฒน์ (06/02/62- 2)
เคล็ดลับการสืบทอดธุรกิจครอบครัว และแบ่งปันผลประโยชน์ของตระกูลจิราธิวัฒน์ (06/02/62- 2)

VIDEO

Family Business รวมเกร็ดเคล็ดลับบริหารธุรกิจครอบครัว
Family Business รวมเกร็ดเคล็ดลับบริหารธุรกิจครอบครัว
FastFish EP.25 ธุรกิจครอบครัวได้เปรียบ หรือเสียเปรียบในยุคดิสรัปฯ? (Fea. วิเชฐ ตันติวานิช)
FastFish EP.25 ธุรกิจครอบครัวได้เปรียบ หรือเสียเปรียบในยุคดิสรัปฯ? (Fea. วิเชฐ ตันติวานิช)
Victoria Mars, Mars, Inc.: How Does a Family Business Survive?
Victoria Mars, Mars, Inc.: How Does a Family Business Survive?
Adizes - How to Get Out of the Founder's Trap (EN/TH)
Adizes - How to Get Out of the Founder's Trap (EN/TH)
How the Robbins Family Went from Baskin-Robbins to the Food Revolution
How the Robbins Family Went from Baskin-Robbins to the Food Revolution
เคล็ดลับการสืบทอดธุรกิจครอบครัว และแบ่งปันผลประโยชน์ของตระกูลจิราธิวัฒน์ (06/02/62- 2)
เคล็ดลับการสืบทอดธุรกิจครอบครัว และแบ่งปันผลประโยชน์ของตระกูลจิราธิวัฒน์ (06/02/62- 2)
นิรัต กาญจนาคพันธุ์
ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เฟิร์ม จำกัด

คุณนิรัต มีประสบการณ์การทำงานระดับบริหารมากว่า 20 ปี โดยเริ่มทำงานในธุรกิจโฆษณาก่อนเข้าสู่ธุรกิจคมนาคม ดูแลรับผิดชอบงานการบริหารการตลาดและการขายให้กับแบรนด์มือถือชั้นนำ ก่อนจะผันตัวเองมาทำงานด้านที่ปรึกษาการบริหารการตลาด ซึ่งทำให้ได้เห็นปัญหา และการตัดสินใจในเบื้องหน้าและเบื้องลึกของธุรกิจครอบครัวหลากหลายรูปแบบ


คุณนิรัตเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญและผู้บุกเบิกในการให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวธุรกิจและการจัดทำธรรมนูญครอบครัว โดยในระหว่างที่ร่วมงานกับ สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ (CED) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในตำแหน่งผู้บริหารสายงานการให้คำปรึกษาธุรกิจครอบครัว ได้นำประสบการณ์ด้านที่ปรึกษาธุรกิจครอบครัวไทยไปร่วมพัฒนาหลักสูตรเรื่อง “ธรรมนูญครอบครัว” เพื่อสอนให้กับผู้ประกอบการธุรกิจ ทายาท และผู้ที่สนใจได้เข้าใจในเรื่องของการสร้างข้อตกลงของธุรกิจครอบครัว


จนถึงปัจจุบัน คุณนิรัตได้ให้คำปรึกษาและจัดทำธรรมนูญครอบครัวธรรมนูญครอบครัวมาแล้วกว่า 40 ครอบครัว และเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องธรรมนูญครอบครัวในหลายหลักสูตร รวมทั้งจัดคอร์สสัมมนาให้องค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการเรียนรู้เรื่องธรรมนูญครอบครัวและการสร้างข้อตกลงในครอบครัวเป็นการเฉพาะอีกด้วย

วิเชฐ ตันติวานิช
ประธาน บริษัท เฟิร์ม จำกัด

คุณวิเชฐ เป็นผู้คร่ำหวอดในแวดวงตลาดทุน และผู้บริหารมืออาชีพมากว่า 30 ปี ทั้งในธุรกิจธนาคาร เงินทุนหลักทรัพย์ กองทุนรวม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งหลักสูตรของสถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) ที่ได้รับความนิยมที่สุดหลักสูตรหนึ่งในประเทศไทย

นอกจากที่ “เฟิร์ม” แล้ว ปัจจุบันคุณวิเชฐ ดำรงตำแหน่งในองค์กรภายรัฐและเอกชนหลายแห่ง อาทิ ประธานหลักสูตร 2Morrow Scaler: Beyond Frontiers ประธานกรรมการบริหารศูนย์ C asean กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กรรมการอิสระในกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED FUND) ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

ประธานกรรมการ และประธานกรรมการตรวจสอบ บมจ. เอเชีย เอวิเอชั่น (ไทยแอร์เอเชีย), กรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ บมจ. เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์, กรรมการอิสระ บมจ. ภัทรลิสซิ่ง และ บมจ. น้ำตาลบุรีรัมย์

คุณวิเชฐเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาการจัดทำธรรมนูญครอบครัว โดยพัฒนาวิธีการจาก Babson College สหรัฐอเมริกา และได้คิดค้นหลักสูตร BSMART ให้กับธนาคารกรุงเทพ เพื่ออบรมลูกค้าของธนาคารในเรื่องการส่งต่อธุรกิจสู่ทายาทได้อย่างราบรื่น โดยจัดการอบรมมาแล้ว 8 ปี รวมประมาณ 380 ครอบครัว

คุณวิเชฐเรียนจบคณะเศรษฐศาสตร์ สาขาการเงิน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบปริญญาโท MBA, Finance & Marketing จาก University of Hartford สหรัฐอเมริกา

3/6

Family Office

ที่ปรึกษาจัดทำ “สำนักงานครอบครัว” หรือ Family Office เพื่อบริหารจัดการความมั่งคั่งและสินทรัพย์ของครอบครัว ซึ่งรวมถึงการให้คำแนะนำด้านการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการความมั่งคั่ง การพิจารณาทางเลือกและผลิตภัณฑ์การลงทุน ผลตอบแทน การวางแผนมรดก ระบบการบริหารจัดการ งบประมาณ ภาษี กฎหมาย การศึกษา การบริจาค และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อคุ้มครอง สร้างการเติบโตและสามารถส่งต่อความมั่งคั่งและสินทรัพย์ของครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่าง มั่นคง และราบรื่น โดยพันธมิตรของ FIRM คุณ วิรัช สมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการการบริหารสินทรัพย์และวาณิชธนกิจจาก ICHAM ซึ่งมีประสบการณ์กว่า 35 ปีในสถาบันการเงินชั้นนำทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ อาทิ UCAP Asia Pte (สิงคโปร์), RBS Coutts Bank (สิงคโปร์) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ Focal Enterprise (ฮ่องกง) EFG Bank (สิงคโปร์)

3/6

Family Office

ที่ปรึกษาจัดทำ “สำนักงานครอบครัว” หรือ Family Office เพื่อบริหารจัดการความมั่งคั่งและสินทรัพย์ของครอบครัว ซึ่งรวมถึงการให้คำแนะนำด้านการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการความมั่งคั่ง การพิจารณาทางเลือกและผลิตภัณฑ์การลงทุน ผลตอบแทน การวางแผนมรดก ระบบการบริหารจัดการ งบประมาณ ภาษี กฎหมาย การศึกษา การบริจาค และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อคุ้มครอง สร้างการเติบโตและสามารถส่งต่อความมั่งคั่งและสินทรัพย์ของครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่นได้อย่าง มั่นคง และราบรื่น

โดยพันธมิตรของ FIRM คุณ วิรัช สมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการการบริหารสินทรัพย์และวาณิชธนกิจจาก ICHAM ซึ่งมีประสบการณ์กว่า 35 ปีในสถาบันการเงินชั้นนำทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ อาทิ UCAP Asia Pte (สิงคโปร์), RBS Coutts Bank (สิงคโปร์) บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน วรรณ Focal Enterprise (ฮ่องกง) EFG Bank (สิงคโปร์)

5/6

“สานความรัก ความเข้าใจ
และการสื่อสารในครอบครัว”

บริการให้คำปรึกษาครอบครัว โดยนักจิตวิทยาการปรึกษา และผูู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์บุคลิกภาพ ดร.จอมขวัญ เลื่องลือ เพื่อช่วยให้สมาชิกในครอบครัวผสานความรัก ความสามัคคี สามารถสื่อสารระหว่างกันและมีความเข้าใจกันได้ดีขึ้น ตลอดจนสามารถค้นหาความต้องการและศักยภาพของตนเองและสมาชิกครอบครัว รู้จักตนเอง ยอมรับในตนเอง และเชื่อมโยงไปบุคคลรอบข้างโปรแกรม “สานความรัก ความเข้าใจ และการสื่อสารในครอบครัว” ประกอบด้วยการให้คำปรึกษา (สานเสวนา) รวม 6 ครั้ง ** สานเสวนาครั้งที่ 1 ทำความรู้จักตนเอง ทบทวนตัวเอง รู้จักโลกภายในของตนเอง ทำความรู้จักกับเหตุการณ์และผลกระทบที่เข้ามาในชีวิต ฝึกการเปลี่ยนเปลี่ยนภายในตนเองเริ่มต้นจากตนเอง (ผลสแกนนิ้ววัดบุคลิกภาพ เป็นเครื่องมือส่วนหนึ่งในการทำความรู้จักตนเองในครั้งที่ 1 นี้) สานเสวนาครั้งที่ 2 ทำความรู้จักความคิด ความรู้สึก อารมณ์ ความคาดหวังของตนเอง เพื่อค้นหาความต้องการของตนเอง และสามารถยืนยันคุณค่าในตนเองให้เพิ่มมากขึ้น ฝึกการเปลี่ยนเปลี่ยนภายในตนเองเริ่มต้นจากตนเอง สานเสวนาครั้งที่ 3 ตระหนักและเข้าใจตนเอง รับผิดชอบกับสิ่งที่ตนเองเลือก โดยการสร้างมุมมองใหม่ๆ ฝึกการเปลี่ยนเปลี่ยนภายในตนเองเริ่มต้นจากตนเอง สานเสวนาครั้งที่ 4 เยียวยาความสัมพันธ์ ยอมรับกับความรักที่ไม่มีเงื่อนไข กฎของครอบครัว ฝึกการเปลี่ยนเปลี่ยนภายในตนเองเชื่อมโยงไปยังผู้อื่น สานเสวนาครั้งที่ 5 ยอมรับและเปลี่ยนแปลงตนเอง เชื่อมโยงหัวใจไปสู้คนรอบข้างด้วยความอ่อนโยน ยืนยันคุณค่าทั้งของตนเองและยืนยันคุณค่าของผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฝึกการเชื่อมโยงตนเองเข้ากับผู้อื่น ได้โดยไม่บังคับตัวเอง ไม่ฝืนใจตนเอง เชื่อมโยงด้วยความเต็มใจจริงใจ (แต่ละคนจับคู่ เข้าทีละคู่จนครบทุกคนในครอบครัว) สานเสวนาครั้งที่ 6 สร้างกลไกใหม่ในครอบครัว ตัวตนใหม่ที่พร้อมเรียนรู้ในความสัมพันธ์ที่ไม่รู้สึกอึดอัด เติบโตไปพร้อมกัน เดินไปด้วยกัน ** การให้คำปรึกษาอาจมีกระบวนการการเปลี่ยนแปลงการให้คำปรึกษาตามผู้รับคำปรึกษาในขณะที่ให้บริการตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับความพร้อมของจิตใจของผู้รับคำปรึกษาในขณะนั้น

5/6

“สานความรัก ความเข้าใจ และการสื่อสารในครอบครัว”
บริการให้คำปรึกษาครอบครัว โดยนักจิตวิทยาการปรึกษา และผูู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์บุคลิกภาพ ดร.จอมขวัญ เลื่องลือ เพื่อช่วยให้สมาชิกในครอบครัวผสานความรัก ความสามัคคี สามารถสื่อสารระหว่างกันและมีความเข้าใจกันได้ดีขึ้น ตลอดจนสามารถค้นหาความต้องการและศักยภาพของตนเองและสมาชิกครอบครัว รู้จักตนเอง ยอมรับในตนเอง และเชื่อมโยงไปบุคคลรอบข้าง โปรแกรม “สานความรัก ความเข้าใจ และการสื่อสารในครอบครัว” ประกอบด้วยการให้คำปรึกษา (สานเสวนา) รวม 6 ครั้ง ** สานเสวนาครั้งที่ 1 ทำความรู้จักตนเอง ทบทวนตัวเอง รู้จักโลกภายในของตนเอง ทำความรู้จักกับเหตุการณ์และผลกระทบที่เข้ามาในชีวิต ฝึกการเปลี่ยนเปลี่ยนภายในตนเองเริ่มต้นจากตนเอง (ผลสแกนนิ้ววัดบุคลิกภาพ เป็นเครื่องมือส่วนหนึ่งในการทำความรู้จักตนเองในครั้งที่ 1 นี้) สานเสวนาครั้งที่ 2 ทำความรู้จักความคิด ความรู้สึก อารมณ์ ความคาดหวังของตนเอง เพื่อค้นหาความต้องการของตนเอง และสามารถยืนยันคุณค่าในตนเองให้เพิ่มมากขึ้น ฝึกการเปลี่ยนเปลี่ยนภายในตนเองเริ่มต้นจากตนเอง สานเสวนาครั้งที่ 3 ตระหนักและเข้าใจตนเอง รับผิดชอบกับสิ่งที่ตนเองเลือก โดยการสร้างมุมมองใหม่ๆ ฝึกการเปลี่ยนเปลี่ยนภายในตนเองเริ่มต้นจากตนเอง สานเสวนาครั้งที่ 4 เยียวยาความสัมพันธ์ ยอมรับกับความรักที่ไม่มีเงื่อนไข กฎของครอบครัว ฝึกการเปลี่ยนเปลี่ยนภายในตนเองเชื่อมโยงไปยังผู้อื่น สานเสวนาครั้งที่ 5 ยอมรับและเปลี่ยนแปลงตนเอง เชื่อมโยงหัวใจไปสู้คนรอบข้างด้วยความอ่อนโยน ยืนยันคุณค่าทั้งของตนเองและยืนยันคุณค่าของผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฝึกการเชื่อมโยงตนเองเข้ากับผู้อื่น ได้โดยไม่บังคับตัวเอง ไม่ฝืนใจตนเอง เชื่อมโยงด้วยความเต็มใจจริงใจ (แต่ละคนจับคู่ เข้าทีละคู่จนครบทุกคนในครอบครัว) สานเสวนาครั้งที่ 6 สร้างกลไกใหม่ในครอบครัว ตัวตนใหม่ที่พร้อมเรียนรู้ในความสัมพันธ์ที่ไม่รู้สึกอึดอัด เติบโตไปพร้อมกัน เดินไปด้วยกัน ** การให้คำปรึกษาอาจมีกระบวนการการเปลี่ยนแปลงการให้คำปรึกษาตามผู้รับคำปรึกษาในขณะที่ให้บริการตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับความพร้อมของจิตใจของผู้รับคำปรึกษาในขณะนั้น

1/6

Family Charter

ให้บริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจครอบครัวและการจัดทำธรรมนูญครอบครัว เพื่อสร้างข้อตกลงร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว วางกฎ กติกาในการบริหารจัดการสินทรัพย์ และผลประโยชน์ของสมาชิกครอบครัว กำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยมของครอบครัว กำหนดบทบาทของสมาชิก การวางแผนสืบทอด สวัสดิการ การจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งของครอบครัว การจัดตั้งคณะกรรมการด้านธุรกิจ ฯลฯ

1/6

Family Charter

ให้บริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจครอบครัวและการจัดทำธรรมนูญครอบครัว เพื่อสร้างข้อตกลงร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว วางกฎ กติกาในการบริหารจัดการสินทรัพย์ และผลประโยชน์ของสมาชิกครอบครัว กำหนดวิสัยทัศน์และค่านิยมของครอบครัว กำหนดบทบาทของสมาชิก การวางแผนสืบทอด สวัสดิการ การจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้งของครอบครัว การจัดตั้งคณะกรรมการด้านธุรกิจ ฯลฯ

4/6

Business Transformation

ภาพรวมโดยทั่วไปของธุรกิจ เรามีหน้าบ้าน คือตลาดที่เราต้องบุกออกไปเพื่อให้ได้ธุรกิจเข้ามาในบ้าน และทุกธุรกิจก็ต้องมีหลังบ้าน คือ การวางโครงสร้างบริหารจัดการเพื่อทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ตรงเวลา และถูกต้องตามหลักการทางกฎหมาย แต่หลายต่อหลายธุรกิจที่ต้องสาระวนกับการแก้ไขปัญหาหลังบ้าน ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งในเรื่องบุคคลากรที่เกิดจากจากความไม่เข้าใจกัน การช่วงชิงอำนาจ การขาดความรับผิดในบทบาทหน้าที่ สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่หนักและทำให้ทุกธุรกิจต้องสูญเสียพลังงานในการจัดการอย่างมาก ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ธุรกิจขาดประสิทธิภาพในการเก็บรวมรวบพลังสติปัญญาในการสร้างความก้าวหน้าให้กับธุรกิจโดยการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ การปรับตัวทางการตลาดให้สอดรับกับโลกใหม่ เป็นต้น Business Transformation จึงเป็นเรื่องที่ต้องวิเคราะห์ Potential Improvement Point ของธุรกิจทั้งหน้าบ้าน และหลังบ้านโดยองค์ความรู้จากสหรัฐอเมริกา พันธมิตรของ FIRM คุณรังสรรค์ ธรรมมณีวงศ์ ประธานและผู้ก่อตั้ง บริษัท Prudent Advisory อดีตนักวาณิชธนกิจและนักยุทธศาสตร์องค์กร ผู้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญมากกว่า 35 ปี ในการทรานส์ฟอร์มองค์กร และให้คำแนะนำผู้บริหารระดับสูงในการกำหนดยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงและการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันคุณรังสรรค์ดำรงตำแหน่งเป็น กรรมการ บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท พัฒน์กล จำกัด (มหาชน) เป็น Managing Partner ในประเทศไทย และ Certified Associate ของ Adizes Institute Worldwide บริษัทที่ปรึกษาจากสหรัฐอเมริกา ที่มีชื้่อเสียงระดับโลกด้านการจัดการองค์กร (ถูกขนานนามว่าเป็น the “America’s best kept secret” ด้านกระบวนการให้คำปรึกษา โดย Ken Blanchardm เจ้าของผลงาน One Minute Manager) นอกจากนี้ยังเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ Blue Ocean ที่ได้รับการรับรองจาก The Blue Ocean Strategic Initiative Center (BOSIC) ประเทศอังกฤษ และเป็น Certified Master Coach และ Advisory Board ของ The Centered for Advance Coaching, USA. คุณรังสรรค์ จบปริญญาโทบริหารธุรกิจจาก Katz Graduate School of Business และปริญญาตรีจาก Brigham Young University

4/6

Business Transformation

ภาพรวมโดยทั่วไปของธุรกิจ เรามีหน้าบ้าน คือตลาดที่เราต้องบุกออกไปเพื่อให้ได้ธุรกิจเข้ามาในบ้าน และทุกธุรกิจก็ต้องมีหลังบ้าน คือ การวางโครงสร้างบริหารจัดการเพื่อทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ตรงเวลา และถูกต้องตามหลักการทางกฎหมาย แต่หลายต่อหลายธุรกิจที่ต้องสาระวนกับการแก้ไขปัญหาหลังบ้าน ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งในเรื่องบุคคลากรที่เกิดจากจากความไม่เข้าใจกัน การช่วงชิงอำนาจ การขาดความรับผิดในบทบาทหน้าที่ สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาที่หนักและทำให้ทุกธุรกิจต้องสูญเสียพลังงานในการจัดการอย่างมาก ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ธุรกิจขาดประสิทธิภาพในการเก็บรวมรวบพลังสติปัญญาในการสร้างความก้าวหน้าให้กับธุรกิจโดยการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ การปรับตัวทางการตลาดให้สอดรับกับโลกใหม่ เป็นต้น Business Transformation จึงเป็นเรื่องที่ต้องวิเคราะห์ Potential Improvement Point ของธุรกิจทั้งหน้าบ้าน และหลังบ้านโดยองค์ความรู้จากสหรัฐอเมริกา พันธมิตรของ FIRM คุณรังสรรค์ ธรรมมณีวงศ์ ประธานและผู้ก่อตั้ง บริษัท Prudent Advisory อดีตนักวาณิชธนกิจและนักยุทธศาสตร์องค์กร ผู้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญมากกว่า 35 ปี ในการทรานส์ฟอร์มองค์กร และให้คำแนะนำผู้บริหารระดับสูงในการกำหนดยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงและการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันคุณรังสรรค์ดำรงตำแหน่งเป็น กรรมการ บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท พัฒน์กล จำกัด (มหาชน) เป็น Managing Partner ในประเทศไทย และ Certified Associate ของ Adizes Institute Worldwide บริษัทที่ปรึกษาจากสหรัฐอเมริกา ที่มีชื้่อเสียงระดับโลกด้านการจัดการองค์กร (ถูกขนานนามว่าเป็น the “America’s best kept secret” ด้านกระบวนการให้คำปรึกษา โดย Ken Blanchardm เจ้าของผลงาน One Minute Manager) นอกจากนี้ยังเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านกลยุทธ์ Blue Ocean ที่ได้รับการรับรองจาก The Blue Ocean Strategic Initiative Center (BOSIC) ประเทศอังกฤษ และเป็น Certified Master Coach และ Advisory Board ของ The Centered for Advance Coaching, USA. คุณรังสรรค์ จบปริญญาโทบริหารธุรกิจจาก Katz Graduate School of Business และปริญญาตรีจาก Brigham Young University

6/6

บริการจัดทำ
ประวัติครอบครัวธุรกิจ

รับจัดทำประวัติของครอบครัว เพื่อส่งต่อวิธีคิด หลักการ ปรัชญาการดำเนินชีวิตและธุรกิจ เส้นทางของการต่อสู้ ปัญหา อุปสรรค ความสำเร็จ และเรื่องราวเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และส่งต่อความสำเร็จไปสู่คนรุ่นต่อไป (Family DNA) โดยอดีตบรรณาธิการนิตยสารฟอร์บส และเดอะ เนชั่น

6/6

บริการจัดทำ
ประวัติครอบครัวธุรกิจ

รับจัดทำประวัติของครอบครัว เพื่อส่งต่อวิธีคิด หลักการ ปรัชญาการดำเนินชีวิตและธุรกิจ เส้นทางของการต่อสู้ ปัญหา อุปสรรค ความสำเร็จ และเรื่องราวเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ และส่งต่อความสำเร็จไปสู่คนรุ่นต่อไป (Family DNA) โดยอดีตบรรณาธิการนิตยสารฟอร์บส และเดอะ เนชั่น

2/6

การจัด Public & Private Class

Customized Class and Public Class จัดคอร์สให้ความรู้เรื่องการสร้างข้อตกลงในครอบครัว และแนวทางในการเขียนธรรมนูญครอบครัวเพื่อสร้างความยั่งยืน และความเป็นปึกแผ่นในครอบครัวธุรกิจ ประกอบด้วย • การสร้างความเข้าใจกระบวนการเขียนธรรมนูญครอบครัว และจัดทำ Workshop เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันก่อน • ออกแบบ Workshop สำหรับครอบครัวโดยเฉพาะเทคนิคกระบวนการร่วมกันมองประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ Private Class รับจัดบรรยายเรื่องธรรมนูญครอบครัวให้เป็นการเฉพาะสำหรับครอบครัวที่ต้องการเข้าใจหลักการและวิธีการจัดทำธรรมนูญครอบครัว กรณีตัวอย่าง และบทเรียนที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับครอบครัว ภายใต้เงื่อนไข และปัจจัยเฉพาะของแต่ละครอบครัว ในแบบเจาะลึก ทั้งในและนอกสถานที่

2/6

การจัด Public & Private Class

Customized Class and Public Class จัดคอร์สให้ความรู้เรื่องการสร้างข้อตกลงในครอบครัว และแนวทางในการเขียนธรรมนูญครอบครัวเพื่อสร้างความยั่งยืน และความเป็นปึกแผ่นในครอบครัวธุรกิจ ประกอบด้วย • การสร้างความเข้าใจกระบวนการเขียนธรรมนูญครอบครัว และจัดทำ Workshop เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันก่อน • ออกแบบ Workshop สำหรับครอบครัวโดยเฉพาะเทคนิคกระบวนการร่วมกันมองประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ Private Class รับจัดบรรยายเรื่องธรรมนูญครอบครัวให้เป็นการเฉพาะสำหรับครอบครัวที่ต้องการเข้าใจหลักการและวิธีการจัดทำธรรมนูญครอบครัว กรณีตัวอย่าง และบทเรียนที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับครอบครัว ภายใต้เงื่อนไข และปัจจัยเฉพาะของแต่ละครอบครัว ในแบบเจาะลึก ทั้งในและนอกสถานที่
วีชัชชฎา ยงสุวรรณกุล
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เฟิร์ม จำกัด

คุณวีชัชชฎา มีประสบการณ์ในหลากหลายธุรกิจ ตั้งแต่ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค ธุรกิจดนตรี ธุรกิจสุขภาพ และการศึกษา โดยมีความเชี่ยวชาญด้านการวางแผนและการบริหารองค์กรทั้งในและต่างประเทศมากว่า 20 ปี อาทิ การวางแผนกลยุทธ์ บริหารจัดการองค์กรธุรกิจข้ามชาติ การตลาด องค์กร  NGO ต่างประเทศ และการช่วยธุรกิจครอบครัวพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับ ประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์

นอกจากที่ “เฟิร์ม” แล้ว ปัจจุบัน คุณวีชัชชฎายังดำรงตำแหน่ง ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชาร์ปแร็บบิส จำกัด, ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน บริษัท ทูมอโร่ สเกลเลอร์ จำกัด

นอกจากนี้เธอยังมีความสนใจช่วยเหลือสังคม โดยทำงานช่วยเหลือผู้ลี้ภัยต่างชาติและพัฒนาแผนผู้ด้อยโอกาสให้กับองค์การคริสเตียนมากว่า 20 ปี

ทำความรู้จักกับทีมผู้ร่วมก่อตั้ง เฟิร์ม

บริษัท เฟิร์ม จำกัด เป็นการรวมตัวกันของคุณวิเชฐ  ตันติวานิช คุณวีชัชชฎา ยงสุวรรณกุล และคุณนิรัต กาญจนาคพันธุ์ 

ซึ่งล้วนแต่เป็นนักบริหารมืออาชีพที่มีประสบการณ์ทำงานในองค์กรธุรกิจหลากหลายประเภท อาทิ การเงินธนาคาร ตลาดทุน หลักทรัพย์ สินค้าอุปโภคบริโภค โทรคมนาคม ธุรกิจเพลง สุขภาพ โฆษณา และการศึกษา มากว่า 30 ปี

ด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปี ในการให้คำแนะนำการจัดทำธรรมนูญครอบครัวแก่ตระกูลธุรกิจไทยมากกว่า 40 ครอบครัว ตั้งแต่ขนาดเล็กที่มีสมาชิกครอบครัวเพียง  2 ท่าน ไปจนถึงตระกูลใหญ่ที่มีสมาชิกครอบครัว 200 ท่าน 

จึงทำให้ เฟิร์ม กลายเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดทำธรรมนูญครอบครัวที่มีประสบการณ์และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย

ทั้งนี้ สิ่งสำคัญนอกจากแนวทางในการจัดทำธรรมนูญครอบครัว ซึ่งเป็นโนว์ฮาวในเชิงเทคนิคแล้ว ความรู้ลึก รู้กว้าง ประสบการณ์ตรงจากการได้คลุกคลี บริหาร และให้คำปรึกษากับธุรกิจครอบครัวชั้นนำในประเทศไทย บารมี  เน็ตเวิร์ค และ ความน่าเชื่อถือ  ของผู้จัดทำ

ยังเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการ Facilitate การจัดทำธรรมนูญครอบครัว และการทำ Business Transformation ให้กับครอบครัวที่มีหลากหลายเจนเนอเรชั่น และแนวความคิด มีโจทย์ธุรกิจและค่านิยมครอบครัวที่แตกต่างกัน ให้ประสบผลสำเร็จและนำไปใช้งานได้อย่างแท้จริง

ดิฉันซึ่งเป็นทายาทปลายเจนเนอเรชั่น 3 มีโอกาสได้เข้าไปอบรมเรื่องธุรกิจครอบครัว ร่วมกับทายาทรุ่นที่ 4 และได้รู้จักกับ คุณวิเชฐ ตันติวานิช ผู้บริหาร บริษัท เฟิร์ม จำกัด จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำธรรมนูญครอบครัวของตระกูล “หงส์หยก” สืบเนื่องจากธุรกิจครอบครัว “หงษ์หยก” ของเราเดินทางมาถึงเจนเนอเรชั่นที่ 3 แล้ว และพวกเราคิดว่าเมื่อเวลาผ่านไป สมาชิกในครอบครัวมีจำนวนมากขึ้น การสื่อสารถึงแนวความคิดต่างๆของครอบครัวก็อาจเลือนหายไประหว่างกาลเวลา

จึงมีดำริกันว่า ครอบครัวของเราควรมีเครื่องมือที่จะช่วยสืบทอดความคิดและความตั้งใจของบรรพบุรุษไปสู่เจนเนอเรชั่นต่อไป เป็นเหมือนบันทึกข้อตกลงเพื่อป้องกันความไม่เข้าใจกันในครอบครัวและเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งทั้งในส่วนที่เป็นแนวคิด ปรัชญาการดำเนินชีวิตและการทำธุรกิจกฎข้อห้าม รวมถึงกรอบแบบแผนในการจัดการผลประโยชน์ของครอบครัวเพื่อส่งต่อธุรกิจครอบครัวสู่รุ่นต่อๆไป โดยที่กิจการของครอบครัวยังคงเดินหน้าตามเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งบริษัทที่ต้องการให้ครอบครัวทำงานด้วยกัน บริหารทั้งธุรกิจและครอบครัวร่วมกัน

ปิยะนุช หงษ์หยก

รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท อนุภาษและบุตร จำกัด

ดิฉันซึ่งเป็นทายาทปลายเจนเนอเรชั่น 3 มีโอกาสได้เข้าไปอบรมเรื่องธุรกิจครอบครัว ร่วมกับทายาทรุ่นที่ 4 และได้รู้จักกับคุณวิเชฐ ตันติวานิช ผู้บริหาร บริษัท เฟิร์ม จำกัด จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำธรรมนูญครอบครัวของตระกูล “หงส์หยก” การทำงานของ “เฟิร์ม” ถือว่ามีความเป็นมืออาชีพสูงจากความสามารถของผู้บริหารบริษัท มีแนวทางดำเนินการจัดทำธรรมนูญครอบครัวได้ตามขั้นตอน มีวิธีการที่ชัดเจนในการสื่อสารกับครอบครัว และมีทีมที่มีประสบการณ์ เพราะบางครั้งถึงแม้มีแบบแผนแนวทาง แต่ถ้าหากไม่มีประสบการณ์ หรือมีความรู้กว้างพอก็จะไม่เข้าใจความแตกต่างของแต่ละครอบครัว สืบเนื่องจากธุรกิจครอบครัว “หงษ์หยก” ของเราเดินทางมาถึงเจนเนอเรชั่นที่ 3 และ 4 แล้ว พวกเราคิดว่าเมื่อเวลาผ่านไป สมาชิกในครอบครัวมีจำนวนมากขึ้น การสื่อสารถึงแนวความคิดต่างๆของครอบครัวก็อาจเลือนหายไประหว่างกาลเวลา จึงมีดำริกันว่าครอบครัวของเราควรมีเครื่องมือที่จะช่วยสืบทอดความคิดและความตั้งใจของบรรพบุรุษไปสู่เจนเนอเรชั่นต่อไป เป็นเหมือนบันทึกข้อตกลงเพื่อป้องกันความไม่เข้าใจกันในครอบครัวและเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้ง ทั้งในส่วนที่เป็นแนวคิด ปรัชญาการดำเนินชีวิตและการทำธุรกิจ กฎข้อห้าม รวมถึงกรอบแบบแผนในการจัดการผลประโยชน์ของครอบครัว เพื่อส่งต่อธุรกิจครอบครัวสู่รุ่นต่อๆไป โดยที่กิจการของครอบครัวยังคงเดินหน้าตามเจตนารมณ์ของผู้ก่อตั้งบริษัทที่ต้องการให้ครอบครัวทำงานด้วยกัน บริหารทั้งธุรกิจและครอบครัวร่วมกัน ทั้งหมดนี้คือเหตุผลที่ทำให้ครอบครัวของเราเชื่อว่า Family Charter หรือธรรมนูญครอบครัวมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการที่จะเป็นตัวช่วยกำหนดแบบแผน กฎระเบียบ ในการบริหารครอบครัว สร้างศักยภาพของครอบครัวและธุรกิจให้เติบโตอย่างมีกรอบแบบแผน ปัจจุบันบ้าน “หงส์หยก” ของเราก็ได้ดำเนินการออกธรรมนูญครอบครัวให้กับสมาชิกในครอบครัวได้สำเร็จลุล่วง มีการตั้งสภาครอบครัวขึ้นมาและจัดประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ทำให้สมาชิกในครอบครัวมีความเข้าใจกัน ได้พัฒนาการสื่อสาร สามารถรับฟังความคิดเห็นของกันและกันได้มากขึ้น และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การสื่อสารในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ หากสื่อสารไม่เข้าใจหรือมีอคติต่อกันก็จะเกิดความรู้สึกแตกแยกในครอบครัว การที่มีธรรมนูญครอบครัวจึงจำเป็นสำหรับครอบครัวใหญ่เพื่อความเข้าใจ พัฒนาการสื่อสารร่วมกันมากขึ้น และสามารถดำรงความเป็นครอบครัวได้ต่อเนื่อง เพราะเมื่อแต่ละรุ่นผ่านไป รากของครอบครัว รวมถึงความผูกพันอาจน้อยลง แต่กฏระเบียบของครอบครัวจะชี้ให้เห็นที่มาที่ไปว่าคนในรุ่นก่อนหน้าเราได้ทำอะไรไว้บ้าง ก็จะได้ซึมซับวิถีชีวิต ความคิด และค่านิยมของครอบครัวที่จะเป็นประโยชน์สำหรับรุ่นต่อๆไป .

ปิยะนุช หงษ์หยก

รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท อนุภาษและบุตร จำกัด

ในการดำเนินการจัดทำ Family Charter หรือ ธรรมนูญครอบครัวของ “กลุ่มวังขนาย” จนสำเร็จ บริษัท เฟิร์ม เปรียบเสมือนอาจารย์ใหญ่ที่เป็นผู้ให้คำแนะนำ และมีทีมงานมืออาชีพเข้ามาช่วยแบ่งปันประสบการณ์ที่ผ่านมา รวมถึงมีรูปแบบ กระบวนการที่เป็นขั้นตอน และกรณีศึกษาจำนวนมาก ที่เป็นประโยชน์สำหรับแนวทางของการทำธรรมนูญครอบครัว อีกทั้งยังให้คำปรึกษาในด้านกฏหมายได้อีกด้วย 

ธรรมนูญครอบครัวมีความสำคัญมากกับธุรกิจครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวที่มีลูกมากกว่า 1 คน เพราะสิ่งนี้จะเป็นเหมือนกฎ กติกา เงื่อนไข สำหรับให้พี่น้อง อยู่ร่วมกันได้ เพื่อให้รับรู้ว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ อะไรเหมาะสม อะไรไม่เหมาะสม ซึ่งก่อนหน้านี้บรรพชนของเราใช้วิธีทำพินัยกรรม เมื่อเสียชีวิตก็แบ่งมรดกแล้วจบกันไป แต่ผมมองว่าถ้าต้องการสานต่อธุรกิจครอบครัวให้ยั่งยืนได้เป็นร้อยปี ก็จำเป็นต้องมีธรรมนูญครอบครัว เช่นเดียวกับที่ ประเทศชาติจะยั่งยืนได้เป็นร้อยปีก็ต้องมีรัฐธรรมนูญ เพียงแต่สิ่งสำคัญที่แตกต่างกันคือธรรมนูญครอบครัวควรจะเขียนโดยทุกคนในครอบครัวมีส่วนร่วม โดยเฉพาะผู้ก่อตั้ง ซึ่งก็คือบรรพชน เขาต้องการอะไร มีแนวคิด เจตนารมณ์แบบใดก็จัดทำขึ้นมาเพื่อให้เป็นเหมือนคู่มือในอนาคตของครอบครัวใหญ่ 

และนี่คือเหตุผลสำคัญที่ “กลุ่มวังขนาย” ของครอบครัวเราตัดสินใจ ทำธรรมนูญครอบครัว เพราะไม่เพียงต้องการสร้างความยั่งยืนของธุรกิจครอบครัวเท่านั้น หากแต่ยังสามารถช่วยป้องกันความแตกแยกที่จะเกิดขึ้นภายในครอบครัวอีกด้วย 

เราเชื่อมั่นว่าธรรมนูญครอบครัวคือเครื่องมือที่จะสามารถสร้างความเจริญอย่างยั่งยืนให้ธุรกิจครอบครัวและส่งผลดีไปถึงประเทศชาติได้

ธีระ ณ วังขนาย

รองประธานกรรมการบริหาร กลุ่มวังขนาย

ในการดำเนินการจัดทำ Family Charter หรือ ธรรมนูญครอบครัวของ “กลุ่มวังขนาย” จนสำเร็จ บริษัทเฟิร์มเปรียบเสมือนอาจารย์ใหญ่ที่เป็นผู้ให้คำแนะนำ และมีทีมงานมืออาชีพเข้ามาช่วยแบ่งปันประสบการณ์ที่ผ่านมา รวมถึงมีรูปแบบ กระบวนการที่เป็นขั้นตอน และกรณีศึกษาจำนวนมาก ที่เป็นประโยชน์สำหรับแนวทางของการทำธรรมนูญครอบครัว อีกทั้งยังให้คำปรึกษาในด้านกฏหมายได้อีกด้วย ธรรมนูญครอบครัวมีความสำคัญมากกับธุรกิจครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวที่มีลูกมากกว่า 1 คน เพราะสิ่งนี้จะเป็นเหมือนกฎ กติกา เงื่อนไช สำหรับให้พี่น้อง อยู่ร่วมกันได้ เพื่อให้รับรู้ว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ อะไรเหมาะสม อะไรไม่เหมาะสม ซึ่งก่อนหน้านี้บรรพชนของเราใช้วิธีทำพินัยกรรม เมื่อเสียชีวิตก็แบ่งมรดกแล้วจบกันไป แต่ผมมองว่าถ้าต้องการสานต่อธุรกิจครอบครัวให้ยั่งยืนได้เป็นร้อยปี ก็จำเป็นต้องมีธรรมนูญครอบครัว เช่นเดียวกับที่ประเทศชาติจะยั่งยืนได้เป็นร้อยปีก็ต้องมีรัฐธรรมนูญ เพียงแต่สิ่งสำคัญที่แตกต่างกันคือธรรมนูญครอบครัวควรจะเขียนโดยทุกคนในครอบครัวมีส่วนร่วม โดยเฉพาะผู้ก่อตั้ง ซึ่งก็คือบรรพชน เขาต้องการอะไร มีแนวคิด เจตนารมณ์แบบใดก็จัดทำขึ้นมาเพื่อให้เป็นเหมือนคู่มือในอนาคตของครอบครัวใหญ่ และนี่คือเหตุผลสำคัญที่ “กลุ่มวังขนาย” ของครอบครัวเราตัดสินใจทำธรรมนูญครอบครัว เพราะไม่เพียงต้องการสร้างความยั่งยืนของธุรกิจครอบครัวเท่านั้น หากแต่ยังสามารถช่วยป้องกันความแตกแยกที่จะเกิดขึ้นภายในครอบครัวอีกด้วย เราเชื่อมั่นว่าธรรมนูญครอบครัวคือเครื่องมือที่จะสามารถสร้างความเจริญอย่างยั่งยืนให้ธุรกิจครอบครัวและส่งผลดีไปถึงประเทศชาติได้ .

ธีระ ณ วังขนาย

รองประธานกรรมการบริหาร กลุ่มวังขนาย

 ยาธาตุน้ำขาว ตรา กระต่ายบิน เฮโมวิต ยาบำรุงร่างกายเม็ดสีแดง และเวชภัณฑ์อีกหลายขนานได้ถือกำเนิดขึ้นมากว่า 7 ทศวรรษ โดยที่สามีและดิฉันเป็นรุ่นที่ 1 ของผู้ดำเนินกิจการของครอบครัว ซึ่งต่อมาได้มีลูกๆมารับช่วงเป็นรุ่นที่ 2 จนกระทั่งปัจจุบันเป็นรุ่นหลานที่รับกิจการสืบทอดต่อเป็นรุ่นที่ 3 และรุ่นนี้เองที่เข้ารับงานในช่วงที่มีการแข่งขันด้านธุรกิจอย่างเข้มข้น ทำให้ต้องเกาะติดกับวิธีการดำเนินธุรกิจสมัยใหม่อย่างเต็มรูปแบบเพื่อสร้างและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน 

   ธรรมนูญครอบครัวเป็นของใหม่สำหรับดิฉัน แต่เมื่อลูกหลานได้นำเสนอข้อดีต่างๆ ซึ่งดิฉันเห็นว่าน่าจะส่งผลดีต่อกิจการของครอบครัวและสร้างความสามัคคีในหมู่สมาชิก ซึ่งน่าจะส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าของกิจการอย่างยั่งยืน ดิฉันจึงได้สนับสนุนให้สิ่งใหม่นี้เกิดขึ้น ด้วยการร่วมมือร่วมใจกันของบริษัท “เฟิร์ม” มาระยะหนึ่ง ทำให้ทุกวันนี้เราได้มีธรรมนูญครอบครัวของตระกูล เจียมจรรยา เป็นที่เรียบร้อย 

   ดิฉันเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า ธรรมนูญครอบครัวนี้จะทำหน้าที่ควบคุม กฎ กติกา มารยาท และระเบียบต่างๆ ในบริษัทครอบครัวของเราให้สมาชิกของครอบครัวสามารถทำงานร่วมกันได้ด้วยความสามัคคี และปราศจากปัญหาใดๆ ต่อการดำเนินกิจการของบริษัท ตลอดจนถึงการอยู่ร่วมกันโดยภราดรภาพของหมู่มวลสมาชิก ทั้งนี้เพื่อความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนในอนาคตและตลอดไป

สุนันท์ เจียมจรรยา

ประธานกรรมการกิตติมศักดิ์

ยาธาตุน้ำขาว ตรา กระต่ายบิน เฮโมวิต ยาบำรุงร่างกายเม็ดสีแดง และเวชภัณฑ์อีกหลายขนานได้ถือกำเนิดขึ้นมากว่า 7 ทศวรรษ โดยที่สามีและดิฉันเป็นรุ่นที่ 1 ของผู้ดำเนินกิจการของครอบครัว ซึ่งต่อมาได้มีลูกๆมารับช่วงเป็นรุ่นที่ 2 จนกระทั่งปัจจุบันเป็นรุ่นหลานที่รับกิจการสืบทอดต่อเป็นรุ่นที่ 3 และรุ่นนี้เองที่เข้ารับงานในช่วงที่มีการแข่งขันด้านธุรกิจอย่างเข้มข้น ทำให้ต้องเกาะติดกับวิธีการดำเนินธุรกิจสมัยใหม่อย่างเต็มรูปแบบเพื่อสร้างและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
ธรรมนูญครอบครัวเป็นของใหม่สำหรับดิฉัน แต่เมื่อลูกหลานได้นำเสนอข้อดีต่าง ๆ ซึ่งดิฉันเห็นว่าน่าจะส่งผลดีต่อกิจการของครอบครัวและสร้างความสามัคคีในหมู่สมาชิก ซึ่งน่าจะส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าของกิจการอย่างยั่งยืน ดิฉันจึงได้สนับสนุนให้สิ่งใหม่นี้เกิดขึ้น ด้วยการร่วมมือร่วมใจกันของบริษัท “เฟิร์ม” มาระยะหนึ่ง ทำให้ทุกวันนี้เราได้มีธรรมนูญครอบครัวของตระกูล เจียมจรรยา เป็นที่เรียบร้อย
ดิฉันเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า ธรรมนูญครอบครัวนี้จะทำหน้าที่ควบคุม กฎ กติกา มารยาท และระเบียบต่าง ๆ ในบริษัทครอบครัวของเราให้สมาชิกของครอบครัวสามารถทำงานร่วมกันได้ด้วยความสามัคคี และปราศจากปัญหาใด ๆ ต่อการดำเนินกิจการของบริษัท ตลอดจนถึงการอยู่ร่วมกันโดยภราดรภาพของหมู่มวลสมาชิก ทั้งนี้เพื่อความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนในอนาคตและตลอดไป
ยาธาตุน้ำขาว ตรา กระต่ายบิน เฮโมวิต ยาบำรุงร่างกายเม็ดสีแดง และเวชภัณฑ์อีกหลายขนานได้ถือกำเนิดขึ้นมากว่า 7 ทศวรรษ โดยที่สามีและดิฉันเป็นรุ่นที่ 1 ของผู้ดำเนินกิจการของครอบครัว ซึ่งต่อมาได้มีลูกๆมารับช่วงเป็นรุ่นที่ 2 จนกระทั่งปัจจุบันเป็นรุ่นหลานที่รับกิจการสืบทอดต่อเป็นรุ่นที่ 3 และรุ่นนี้เองที่เข้ารับงานในช่วงที่มีการแข่งขันด้านธุรกิจอย่างเข้มข้น ทำให้ต้องเกาะติดกับวิธีการดำเนินธุรกิจสมัยใหม่อย่างเต็มรูปแบบเพื่อสร้างและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
ธรรมนูญครอบครัวเป็นของใหม่สำหรับดิฉัน แต่เมื่อลูกหลานได้นำเสนอข้อดีต่าง ๆ ซึ่งดิฉันเห็นว่าน่าจะส่งผลดีต่อกิจการของครอบครัวและสร้างความสามัคคีในหมู่สมาชิก ซึ่งน่าจะส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าของกิจการอย่างยั่งยืน ดิฉันจึงได้สนับสนุนให้สิ่งใหม่นี้เกิดขึ้น ด้วยการร่วมมือร่วมใจกันของบริษัท “เฟิร์ม” มาระยะหนึ่ง ทำให้ทุกวันนี้เราได้มีธรรมนูญครอบครัวของตระกูล เจียมจรรยา เป็นที่เรียบร้อย
ดิฉันเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า ธรรมนูญครอบครัวนี้จะทำหน้าที่ควบคุม กฎ กติกา มารยาท และระเบียบต่าง ๆ ในบริษัทครอบครัวของเราให้สมาชิกของครอบครัวสามารถทำงานร่วมกันได้ด้วยความสามัคคี และปราศจากปัญหาใด ๆ ต่อการดำเนินกิจการของบริษัท ตลอดจนถึงการอยู่ร่วมกันโดยภราดรภาพของหมู่มวลสมาชิก ทั้งนี้เพื่อความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนในอนาคตและตลอดไป

.

สุนันท์ เจียมจรรยา

ประธานกรรมการกิตติมศักดิ์